วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โครงการฝนหลวง

                           โครงการฝนหลวง

โครงการฝนหลวง คือ โครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีจุดประสงค์เพื่อสร้างฝนเทียมสำหรับบรรเทาความแห้งแล้งให้แก่เกษตรกร

ประวัติ

เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาด แคลนน้ำ อุปโภค บริโภค และการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทาน โครงการพระราชดำริ " ฝนหลวง " ให้กับ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมา ได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง ปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี ๒๕๑๒ ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกา ก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวง ต่อไป

ฝนหลวง

การทำฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า จะต้องให้เครื่องบินที่มีอัตราการบรรทุกมากๆ บรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของจำนวนเมฆ และสภาพของทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศ จะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย สูตรร้อน เพื่อใช้กระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศ สูตรเย็น ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆ ให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไก ระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

วิธีการทำฝนหลวง



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกำหนดขั้นตอนของกรรมวิธีการทำฝนหลวงขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ตามลำดับ ดังนี้

ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน"

เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน ๑๐.๐๐ น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ ( มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ ) เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ ( เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย ) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิด มีการก่อตัว และเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม (main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่สอง : "เลี้ยงให้อ้วน"

เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้องใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย

ขั้นตอนที่สาม : "โจมตี"

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้าของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัยประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ ๒ ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)

เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง

เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ใน การตรวจวัด และศึกษาสภาพอากาศประกอบการ วางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวัน จาก กรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่
  • เครื่องวัดลมชั้นบน (Pilot Balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็ว ลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป
  • เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (Radiosonde) เป็นเครื่องมือ อิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะ ติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทย ุ ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่างๆ
  • เครื่องเรดาร์ ตรวจอากาศ (Weather Radar) ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณ ที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและ การเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี ๒๐๐-๔๐๐ กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผล ปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย
  • เครื่องมือตรวจ อากาศผิวพื้นต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิเครื่องวัด ความเร็วและทิศทางลมเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น
  • เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่อง บดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและ แบบผง ถัง และ กรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น
  • เครื่องมือ สื่อสาร ใช้ในการติดต่อ สื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบน เครื่องบิน กับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐาน ปฏิบัติการ ๒ แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐาน ปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่าย ร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรม ไปรษณีย์โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.๑, FM.๕ เครื่องทรพิมพ์ เป็นต้น
  • เครื่องมือ ทาง วิชาการ อื่นๆ เช่นอุปกรณ์ ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้อง ส่อง ทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ และ อื่นๆ
สถานี เรดาร์ฝนหลวง ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศ ประยุกต์จำนวน ๘ รายการนั้น Doppler radar จัดเป็น เครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่มีมูลค่าสูงสุด Doppler radar นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตเครื่องมือชนิดนี้ ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (Microvax 3400) ควบคุม การสั่งการการ เก็บบันทึก รวบรวม ข้อมูล สามารถ นำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ใน รูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่าน Processor (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทป บันทึกข้อมูล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถ นำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับ ระบบเรดาร์ การแสดงผล / ข้อมูล โดย จอภาพ (TV.monitor) ขนาด ๒๐ นิ้ว สถานที่ตั้ง Doppler radar หรือ ที่ เรียกว่า สถานี เรดาร์ฝนหลวง นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่

โครงการแกล้งดิน

                             โครงการแกล้งดิน




      แกล้งดิน หมายถึง กระบวนการเร่งปฏิกิริยาเคมีในดินซึ่งมีศักย์หรือความพร้อมจะเป็นดินเปรี้ยว ให้เปรี้ยวรุนแรงมีกรดจัด จากนั้นจึงปรับปรุงโดยเติมปูนขาวหรือด่าง ร่วมกับการใช้ระบบชลประทานนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวจนสามารถเพาะปลูกได้ เป็นแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๗ เพื่อการทดลองที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อได้ผลแล้วจึงนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ดินเปรี้ยว เช่น พรุในจังหวัดนราธิวาส และพื้นที่ดินเปรี้ยวในจังหวัดนครนายก เป็นต้น การแกล้งดิน คือการเร่งปฏิกิริยาเคมีของดินที่มีแร่กำมะถัน หรือสารประกอบไพไรต์ (Pyrite) โดยทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกัน เมื่อดินแห้งสัมผัสกับอากาศ ทำให้แร่กำมะถันกลายเป็นออกไซด์ของเหล็กและซัลเฟต เมื่อทำให้ดินเปียกซัลเฟตผสมกับน้ำกลายเป็นกรดอีกครั้ง เมื่อดินถูกแกล้งสลับไปมาจนกลายเป็นดินที่เปรี้ยวรุนแรงหรือเป็นกรดจัด จากนั้นจึงปรับปรุงดินโดยเติมฝุ่นปูนซึ่งเป็นด่าง ร่วมกับการใช้ระบบชลประทานควบคุมระดับน้ำใต้ดินและนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวจนสามารถเพาะปลูกข้าว พืชไร่เช่น ข้าวโพด ผลไม้เช่นเสาวรสและเลี้ยงปลาเช่นปลานิลได้
แนวพระราชดำริแกล้งดินมาจากการเลียนแบบสภาพธรรมชาติของพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีฤดูแล้ง ๔ เดือน ฤดูฝน ๘ เดือน การทดลองใช้วิธีร่นระยเวลาช่วงแล้งและช่วงฝนในรอบปีให้สิ้นลง ปล่อยให้ดินแห้ง ๑ เดือน และขังน้ำให้ดินเปียกนาน ๒ เดือน ปีหนึ่งจึงมีภาวะดินแห้งและดินเปียก ๔ รอบ เหมือนมีฤดูแล้งสลับฤดูฝนปีละ ๔ ครั้ง
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ศึกษาวิจัยและปรับปรุงดินโดยวิธีการแกล้งดินจนประสบผลสามารถแก้ปัญหาดินเปรี้ยวในพื้นที่พรุให้เพาะปลูกได้ และขยายผลไปยังพื้นที่พรุบ้านโคกอิฐ-โคกโพธิ์ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ละ ๕-๑๐ ถัง เป็น ๔๐-๕๐ ถัง เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๕ นอกจากนี้ยังนำแนวพระราชดำริแกล้งดินไปใใช้ในพื้นที่พรุแฆแฆ จังหวัดปัตตานี มีการปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท ข้าวพันธุ์แก่นจันทร์ ข้าวพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง ข้าวพันธุ์หอมสุพรรณบุรี ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
พุทธศักราช ๒๕๕๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตแก่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ดำเนินการขอจดสิทธิบัตร และกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เลขที่ ๒๒๖๓๗ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ สำหรับการประดิษฐ์คือ กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวเพื่อให้เหมาะแก่การเพาะปลูก (โครงการแกล้งดิน)

โครงการฝายชะลอน้ำ

                      โครงการฝายชะลอน้ำ
          ฝายแม้ว เป็นชื่อเรียก โครงการตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ วิศวกรรม แบบพื้นบ้าน ฝายแม้วเป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวรประเภทหนึ่ง ประเภทเดียวกับฝายคอกหมู โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็กๆ ให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่นานพอที่จะพื้นที่รอบๆจะได้ดูดซึมไปใช้ เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการเป็นป่าสมบูรณ์ขึ้นได้ ฝายแม้วยังอาจใช้เพื่อการทดน้ำ ให้มีระดับสูงพอที่จะดึงน้ำไปใช้ในคลองส่งน้ำได้ในฤดูแล้ง โครงการตามแนวพระราชดำรินี้ได้มีการทดลองใช้ที่ โครงการห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ และประสบผลสำเร็จจนเป็นตัวอย่างให้กับโครงการอื่นๆต่อมา
         ฝายชะลอน้ำสร้างขวางทางไหลของน้ำบนลำธารขนาดเล็กไว้ เพื่อชะลอการไหล- ลดความรุนแรงของกระแสน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของตลิ่ง - เมื่อน้ำไหลช้าลง ก็มีน้ำอยู่ในลำห้วยนานขึ้น โดยเฉพาะในหน้าแล้ง - ช่วยดักตะกอนที่ไหลมากับน้ำ ลดการตื้นเขินที่ปลายน้ำ ทำให้น้ำใสมีคุณภาพดีขึ้น - ช่วยให้ดินชุ่มชื้น ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ - สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต คืนพืชแก่เนินเขา/ภูเขาหัวโล้น - ดินชื้น ป่าก็ชื้น กลายเป็นแนวกันไฟป่า ลดความรุนแรงของไฟได้
 
         เพื่อรักษาความชุ่มชืนของผืนป่าและกักเก็บน้ำ ทางโครงการฯ ได้จัดทำฝายชะลอน้ำ ในต้นน้ำลำธาร ๒ สาย และเพื่อสร้างความเข้าใจให้ถูกต้อง สำหรับ โครงการ ฝายชะลอน้ำ ที่ทางเราได้จัดทำ ขึ้นมานั้น มีวัตถุประสงค์ และ วิธีการก่อสร้าง เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ในระยะยาว ดังนี้
         ๑. ฝายที่เราสร้างขึ้นมา เป็นฝายแบบไม่ถาวร ให้วัสดุจากธรรมชาติ เป็นหลัก สำหรับชะลอน้ำ ในหน้าแล้งเท่านั้น ไม่ได้สร้างเพื่อกักเก็บน้ำ การไหลของน้ำ ที่หน้าฝาย ยังมีน้ำไหลอยู่ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะซึมผ่านฝาย หรือ น้ำล้นข้ามฝาย
         ๒. ระดับความสูงของตัวฝาย ไม่สูงมากนัก ระดับความสูงประมาณ ๔๐ % ของความสูงของระดับน้ำสูงสุด ในลำคลองหรือลำห้วย สายน้ำยังสามารถไหลล้นผ่านฝายได้ ตลอดเวลา เพื่อยังรักษาระบบนิเวศน์ หน้าฝายไว้
         ๓ ตัวฝายควรมีระดับความลาดชัน ประมาณ ๒๐ - ๔๕ องศา ทั้งด้านหน้า และ ด้านหลัง ไม่ควรสร้างฝาย ที่มีหน้าตัด ๙๐ องศา
         ๔. การก่อสร้างจะสร้างเป็นช่วงๆ แบบ ขั้นบันได เป็นช่วงๆ ระยะขึ้นอยุ่กับพื้นที่ ประมาณ ๕๐ - ๒๐๐ เมตร ๔ งบประมาณการก่อสร้างเราแทบจะไม่มี เพียงช่วยกันขนหิน ที่ระเกะ ระกะ อยุ่ตามลำคลอง มาจัดเรียงใหม่ เท่านั้น เป็นการออกกำลังกายไปในตัว หากไม่มีหิน เราก็จะใช้กระสอบทราย
         ๕. หากหน้าน้ำ มีน้ำมา ฝายนี้ก็จะพังทลาย ลง (ช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำป่า ลงได้) หินที่ก่อเรียงตัวไว้ ก็จะพัง และ ไหลลงมาสู่ตัวฝาย ด้านล่าง ต่อไป
         ๖. พอหมดหน้าน้ำป่า น้ำเกือบจะใกล้แห้ง เราก็หาเวลามาออกกำลังกาย มายกก้อนหินกลับไปเรียง เป็นฝายชะลอน้ำ ตามเดิม (ส่วนใหญ่แล้ว จะยังหลงเหลือ โครงสร้างเดิมอยู่บ้าง) ใช้เวลาก่อสร้าง ประมาณ ๑-๒ ชม. ต่อฝายเท่านั้น
         ๗. ควรคำนึงถึง สัตว์น้ำ ที่อาศัยในลำคลองด้วยว่า สามารถเดินทางไปยังต้นน้ำได้หรือไม่ เพราะเราตั้งใจว่า “ในน้ำต้องมีปลา ในป่าต้องมีน้ำ 

โครงการแก้มลิง

 ความเป็นมาของแก้มลิง



-->
 "...ตามปกติเวลาเราให้กล้วยกับลิง ลิงจะเคี้ยวแล้วเก็บไว้ในแก้มลิง ... 

เขาเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บในแก้ม 

น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ " โครงการแก้มลิง " 

น้ำท่วมนี้จะเปรอะไปหมด อย่างที่เปรอะปีนี้ 

เปรอะไปทั่วภาคกลาง จะต้องทำ " แก้มลิง " เพื่อที่จะเอาน้ำปีนี้ไปเก็บไว้..."

พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๔๓๘




-->โครงการแก้มลิง เป็น ส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตามแนว พระราชดำริ โดยประกอบด้วย


  • โครงการขุดลอกคลองระบายน้ำ และกำจัดวัชพืช
  • โครงการปรับปรุงและ ก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ


ตามที่ได้ เกิดสภาวะน้ำท่วมหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมาก ไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่าน เสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้าน ท้ายน้ำอย่างหนัก และส่งผล กระทบต่สภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน


คืนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการป้องกันน้ำท่วม ในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยทรงเปรียบเทียบการ 

กินอาหารของลิงหลังจากที่ลิง เคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน 
แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้างแล้วค่อย ๆ ดุนกล้วยมากินในภายหลัง 

เช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุนให้ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิงสำหรับฝั่งตะวันตกจะ อยู่ที่คลองชายทะเลด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลองสรรพสามิต เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไป

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

          โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริและบรรลุวัตถุประสงค์ ควรจะได้ดำเนินการโดยมีหลักการสำคัญๆ คือ
1. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นอยู่เสมอว่า โครงการของพระองค์นั้นเป็นโครงการที่มุ่งช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ราษฎรกำลังประสบอยู่ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสถึงความจำเป็นนี้ว่า...
“... ถ้าปวดหัวก็คิดไม่อะไรไม่ออก ...เป็นอย่างนั้นต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน แต่ปวดหัวใช้ยาแก้ปวด ...หรือยาอะไรก็ตามแก้ปวดหัว มันไม่ได้แก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่จะคิดได้ แล้วอีกอย่างคือแบบ Macroนี้ เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมดฉันไม่เห็นด้วย ...อย่างบ้านคนอยู่ เราบ้านนี้มันผุตรงโน้นผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะไปซ่อม... เอาตกลงรื้อบ้านนี้ ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ที่ไหน ไม่มีที่อยู่ ก็ต้องค้ำกันเสียก่อน แล้วค่อยๆ ดูตรงนี้พออยู่ได้ ไปรื้อตรงห้องโน้นแล้วก็ค่อยๆ สร้าง แล้วมารื้อห้องนี้ ... วิธีทำจะต้องค่อยๆ ทำจะไประเบิดหมดไม่ได้...”
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เน้นหลักมุ่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าซึ่งต้องการแก้ไขปัญหาอย่างรีบด่วน เช่น กรณีเขตพื้นที่อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาและเป็นพื้นที่ยากจนในเขตอิทธิพลของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่ขบวนการพัฒนาของรัฐยังเข้าไปไม่ถึง ภายหลังจากมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเข้าไปดำเนินการแล้ว ปัญหาความมั่นคงที่เคยมีอยู่ก็ลดน้อยลงและหมดสิ้นไปในที่สุด แม้กระทั่งปัจจุบันโครงการที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และจะมีผลระยะยาวต่อไป คือ การแก้ไขปัญหาการจราจร และการป้องกันน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
2. การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับความจำเป็น ประหยัด


เพื่อให้มีรากฐานที่มั่นคงก่อน แล้วจึงดำเนินการเพื่อความเจริญก้าวหน้าในลำดับต่อๆ ไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นการพัฒนาที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในลักษณะการพึ่งตนเอง ทรงใช้คำว่า “ระเบิดจากข้างใน” นั่นคือ ทำให้ชุมชน หมู่บ้าน มีความเข้มแข็งก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนหรือหมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสได้เตรียมตัวหรือตั้งตัว พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือราษฎรตามความจำเป็นและความเหมาะสมกับสถานภาพ เพื่อที่ราษฎรเหล่านั้นจะได้สามารถพึ่งตนเองได้ และออกมาสู่สังคมภายนอกได้อย่างไม่ลำบาก ดังแนวพระราชดำรัสต่อไปนี้
“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ้มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยะประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานี้...
การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชน ในการประกอบอาชีพและตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพ และฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเอง ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงในต่อไปโดยแน่นอน ส่วนการถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์...”
3. การพึ่งตนเอง


การพัฒนาตามแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น ด้วยการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้มีความแข็งแรงที่จะมีแนวคิดในการดำรงชีวิตต่อไปแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพและความสามารถ “พึ่งตนเองได้” ในที่สุด ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่ง ดังนี้
“...การเข้าใจถึงสถานการณ์ของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การช่วยเหลือให้เขาได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับตามความจำเป็นอย่างเหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลดีที่สุด เพราะฉะนั้นในการช่วยเหลือแต่ละครั้ง แต่ละกรณีจำเป็นที่เราจะพิจารณาถึงความต้องการและความจำเป็นก่อน และต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่เราจะช่วยให้เข้าใจด้วยว่าเขาอยู่ในฐานะอย่างไร สมควรที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไร เพียงใด อีกประการหนึ่งในการช่วยเหลือนั้น ควรยึดหลักสำคัญว่า เราจะช่วยเหลือเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป...”
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เน้นหลัก “การพึ่งตนเอง” เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎร เช่น โครงการธนาคารข้าว โรงการธนาคารโค-กระบือ โครงการจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์ “หุบกระพง” อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยทำกิน และรวมตัวกันในรูปของกลุ่มสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนและการทำมาหากินร่วมกัน เป็นต้น นอกจากนั้น โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในระยะหลังล้วนแต่เพื่อให้ประชาชนสามารถช่วยตัวเองได้ เพราะเป็นโครงการที่สนับสนุนให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ เช่น โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การให้การอบรมความรู้สาขาต่างๆ ทั้งด้านการเกษตรและศิลปาชีพพิเศษ เป็นต้น
4. ภูมิสังคม


การพัฒนาตามแนวพระราชดำรินั้น จะต้องให้สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนั้นๆ เนื่องจากแต่ละแห่ง คนไม่เหมือนกัน ขนบธรรมเนียมประเพณีก็ไม่เหมือนกัน ทรงใช้คำว่า “ภูมิสังคม” คือ ทรงดูลักษณะภูมิศาสตร์และลักษณะของสังคม ไม่ใช่ว่าเอาอะไรที่ทันสมัยมากๆ เข้าไปให้ชาวบ้าน ทั้งที่เขาไม่สามารถใช้ได้ หรือพยายามที่จะทำการเพาะปลูกบนเขา หรือพื้นที่แห้งแล้งให้ได้ อย่างนี้ถือว่าเป็นการดำเนินการที่ผิด พระองค์ทรงชี้แนะพวกเราอยู่ตลอดเวลาว่า การดำเนินการต่างๆ นั้น ต้องให้สอดคล้องกัลป์ลักษณะภูมิสังคม ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า
“... การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา ภูมิประเทศตามสังคมวิทยา คือ นิสัยใจคอของคนเรา จะไปบังคับให้คนคิดอย่างอื่นไม่ได้ เราต้องแนะนำ เราเข้าไป ไปช่วย โดยที่จะคิดให้เขาเข้ากับเราไม่ได้ แต่ถ้าเราเข้าไปแล้ว เราเข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริงๆ แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการของการพัฒนานี้ ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง”
 
5. เรียบง่าย ประหยัด


ในการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎรทรงใช้หลักในการแก้ไขปัญหาด้วยธรรมชาติ เรียบง่าย และประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่น และประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้น มาแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องลงทุนสูง หรือใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากนัก ดังที่นายสุเมธ ตันติเวชกุล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้กล่าวไว้ว่า...
“วิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ นั้น ทรงใช้ความเรียบง่าย ใช้ธรรมชาติเข้าแก้ไขกันเองอยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชน จะทรงสวมวิญญาณของเกษตรกรเข้าไปแก้ไขปัญหา ทรงตรัสอยู่เสมอว่า อย่าได้เอาอะไรที่ชาวบ้านไม่สามารถทำได้ไปยัดเยียดให้เขา วิธีการแก้ไขปัญหาของพระองค์นั้น บางครั้งเรียบง่ายจนกระทั่งเรานึกไม่ถึง ทรงรับสั่งว่า จะเอาอธรรมสู้อธรรม อย่างกรณีเรื่องของน้ำเน่านั้น ก็ทรงเอาผักตบชวามาสู้แล้วก็สู้ได้ผลด้วย เช่น ที่บึงมักกะสัน ที่น้ำเคยเน่าเป็นอย่างมาก เดี๋ยวนี้น้ำดีขึ้นมาก”
6. การส่งเสริมความรู้ และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าควรที่จะสร้างเสริมสิ่งที่ชาวบ้านในชนบทขาดแคลนและเป็นความต้องการ ซึ่งก็คือความรู้ในการทำมาหากิน การทำเกษตรโดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ พระองค์ทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี “ตัวอย่างของความสำเร็จ” มีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฎรในชนบทมีโอกาสได้รู้ได้เห็นถึงตัวอย่างของความสำเร็จนี้และนำไปปฏิบัติได้เอง พระองค์จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อเป็นสถานศึกษา ทดลอง วิจัย และแสวงหาความรู้ เทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่ราษฎร “รับได้” นำไป “ดำเนินการเองได้” และเป็นวิธีการที่ “ประหยัด” เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพของราษฎรที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศนั้นๆ เมื่อได้ผลจากการศึกษาแล้วจึงนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรได้ใช้ในการประกอบอาชีพต่อไป พระองค์ทรงปรารถนาที่จะให้ตัวอย่างของความสำเร็จทั้งหลายได้กระจายไปสู่ท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ และสามารถนำไปปฏิบัติได้ผลอย่างจริงจัง
7. การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากในการพัฒนาประเทศในระยะเวลาที่ผ่านมานั้นได้เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่สูงและรวดเร็ว โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศได้เปลี่ยนไปสู่การผลิตที่มุ่งสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นหลัก มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติกันอย่างฟุ่มเฟือย โดยมิได้มีการฟื้นฟูทรัพยากรที่ถูกทำลายให้กลับคืนสู่สภาพเดิม จนในที่สุดได้ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานแนวทางแก้ไขในการพัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาการเกษตร ดังนั้น จึงทรงมุ่งที่จะให้มีการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนควบคู่กับการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในระยะยาว ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งต่อการทำนุบำรุงปรับปรุงสภาพของทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ำ การประมง ให้อยู่ในสภาพที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากที่สุด
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เน้นหลักมุ่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าซึ่งต้องการแก้ไขปัญหาอย่างรีบด่วน เช่น กรณีเขตพื้นที่อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาและเป็นพื้นที่ยากจนในเขตอิทธิพลของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่ขบวนการพัฒนาของรัฐยังเข้าไปไม่ถึง ภายหลังจากมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเข้าไปดำเนินการแล้ว ปัญหาความมั่นคงที่เคยมีอยู่ก็ลดน้อยลงและหมดสิ้นไปในที่สุด แม้กระทั่งปัจจุบันโครงการที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และจะมีผลระยะยาวต่อไป คือ การแก้ไขปัญหาการจราจร และการป้องกันน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ แพรพลอย ทองนุ้ยพราหมณ์  ชื่อเล่น มะเหมี่ยว
วันเกิด วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2540
ที่อยู่ 123/45 ม.3 ถ. เลี่ยงเมือง ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
งานอดิเรก ฟังเพลง ว่ายน้ำ
จบชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียน ธิดาแม่พระ
คติประจำใจ ความผิดพลาดคือการเรียนรู้
รายการโทรทัศน์ที่ชอบ VRZO
เพลงที่ชอบ Wide Awake / The story of us
ศิลปินที่ชอบ Katy Perry / Taylor Swift
อาหารที่ชอบ อาหารไทย
สถานที่ท่องเที่ยวที่ชอบ ชอบทุกที่